วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


 
เนื้อหา บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร

การสื่อสาร หมายถึง การนาเรื่องราวต่างๆที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น หรือความรู้สึก อาศัยเครื่องนาไปโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ให้ไปถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ จนทาให้เกิดการกาหนดรู้ความหมายของเรื่องราวนั้นร่วมกัน



แบบจาลองการสื่อสาร ดังนี้

ผู้รับสาร

ผู้อ่าน

ผู้ชม

ผู้ฟัง

จานวนมาก

สื่อ

หนังสือพิมพ์

นิตยสาร วารสาร วิทยุ

โทรทัศน์

สาร

บทความ

สารคดี

ข่าว

บทกวี

เรื่องสั้น

ผู้ส่งสาร

ผู้เขียนบทความ สารคดี

ข่าว

บทกวี

เรื่องสั้น

การเขียนเพื่อการสื่อสาร

การเขียน คือ การแสดงความคิด ความรู้สึก และหรือความรู้ ซึ่งอยู่ภายในจิตใจของผู้เขียนออกมาให้ผู้อ่านรับรู้ โดยอาศัยถ้อยคาที่เป็นสัญลักษณ์ของภาษาเขียนและเป็นสื่อของการถ่ายทอดความเข้าใจ


การเขียนเพื่อการสื่อสาร หมายถึง หมายถึง วิธีการส่งสารที่ผู้ส่งสารเรียบเรียงความคิด ผ่านรหัสที่ตกลงร่วมกันในรูปอักษร เสนอเป็นเรื่องราวสาระ ให้ผู้รับสารได้ใช้ทักษะการอ่าน ตีความและทาความเข้าใจเนื้อหา
วัตถุประสงค์ของการเขียน

1. เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร เป็นการให้ข้อมูลเท็จจริงหรือความรู้แก่ผู้อ่าน



วิธีการเขียนเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร

1. เก็บข้อมูล

2. หาความรู้ประกอบให้กว้างขวาง

3. ต้องคานึงถึงข้อเท็จจริงให้มากที่สุด

4. ลาดับความคิดให้ต่อเนื่องเป็นระบบ

5. ใช้ภาษากะทัดรัด

6. การยกตัวอย่างและเปรียบเทียบ

2. เพื่อโน้มน้าวใจ เป้าหมายในการจูงใจ 3 ประการ คือ



1. เพื่อให้คล้อยตาม

2. เพื่อเปลี่ยนทัศนคติ กระตุ้น และเร้าความรู้สึก

3. เพื่อให้เกิดการกระทา

วิธีการเขียนเพื่อจูงใจมีวิธีการใหญ่ๆ 4 วิธี คือ

1. การให้เหตุผลมีวิธีการเริ่มจากการให้ข้อเท็จจริง

 

2. การเร้าอารมณ์

3. การใช้บุคลิกหรือชื่อเสียงส่วนตัวเป็นเครื่องจูงใจ

4. การเสนอแนะ

3. เพื่อให้ความบันเทิง เป็นการเขียนที่มุ่งให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้ความผ่อนคลาย มุ่งสร้างจินตนาการเป็นหลัก ได้แก่ การเขียนบทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี นอกจากต้องศึกษารูปแบบการเขียนแต่ละประเภท ยังต้องรู้จักการสร้างภาพพจน์ มุ่งเน้นการใช้ถ้อยคาเป็นหลัก



การเขียนในเชิงบันเทิงคดี คล้ายกับการเขียนเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร และการโน้มน้าวใจ แต่แตกต่างตรงวิธีการนาเสนอ ที่เสริมจินตนาการ ด้วยภาษาและถ้อยคา และใช้โวหารในการนาเสนอ

ประเภทของการเขียนในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

งานเขียนโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ร้อยแก้ว และ ร้อยกรอง โดยงานเขียนประเภทร้อยแก้ว สามารถจาแนกออกเป็น 2 พวก คือ

1. สารัตถคดี คือ เรื่องที่เสนอข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้แก่ งานเขียนประเภทบทความ สารคดี เป็นต้น

2. บันเทิงคดี คือ เรื่องสมมติที่เขียนขึ้นเพื่อมุ่งความบันเทิงเป็นหลัก เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย



ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร เมื่อพิจารณาจะพบว่า นอกเหนือจากข่าว จะมีงานเขียนในรูปแบบต่างๆ สามารถแยกประเภทได้ ดังนี้

1. บทความ 2. บทวิเคราะห์ 3. บทวิจารณ์ 4. สารคดี

5. เรื่องสั้น 6. นวนิยาย 7. บทร้อยกรอง 8. คอลัมน์เบ็ดเตล็ด

หลักในการเขียน
การเขียนย่อหน้า

ย่อหน้า คือ ความเรียงเรื่องสั้นๆเรื่องหนึ่ง ที่ประกอบด้วยประโยคหลายประโยค ที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีใจความมุ่งแสดงความคิดสาคัญเพียงเรื่องเดียว และเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนชนิดต่างๆ เช่น เรียงความ บทความ หนังสือ ตารา ฯลฯ



ความยาวอาจไม่จากัด ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่นามาเขียน คือต้องยาวพอที่จะอธิบายความคิดได้แจ่มแจ้ง แต่ต้องไม่ยาวจนกระทั่งมีความคิดหลายอย่างปะปน

(ผู้เขียน) ย่อหน้าจะช่วยจากัดขอบเขตเนื้อหา ทาให้เขียนง่ายขึ้น

(ผู้อ่าน) ช่วยให้จับประเด็นหรือใจความได้ง่าย พักสายตา ไม่เหนื่อยเร็ว

ลักษณะของย่อหน้าที่ดี

1. เอกภาพ คือ ทุกๆประโยคในย่อหน้าจะกล่าวถึงความสาคัญเรื่องเดียวกัน มีขอบเขตจากัด มุ่งเสนอความคิดเพียงหนึ่งเดียว เมื่อมีการเปลี่ยนประเด็นจะต้องเปลี่ยนย่อหน้า โดยใช้คาเชื่อม เช่น อย่างไรก็ดี/ตาม นอกจากนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ทว่า ฯลฯ

2. สารัตถภาพ คือ มีเนื้อหาสาระ โดยในย่อหน้าหนึ่งๆจะต้องกล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างได้เนื้อหาสาระหรือได้ใจความที่ชัดเจนเพียงพอ

ต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนอย่างชัดเจน โดยอาจกาหนดใจความสาคัญไว้ตอนต้นและขยายความประโยคสาคัญออกเป็นรายละเอียดต่างๆที่สนับสนุนใจความหลักให้ชัดเจนขึ้น

3. สัมพันธภาพ คือ มีความสัมพันธ์ระหว่างประโยค โดยในย่อหน้าหนึ่งๆประโยคต่างๆ ที่นามาต่อกันนั้น ต้องมีความสัมพันธ์กัน โดยอาจใช้คาเชื่อมหรือกลุ่มคาเชื่อมเพื่อช่วยแสดงความสัมพันธ์

 เสริมความเห็นที่ไปในทางเดียวกัน: อีกด้วยประการแรกประการต่อไปนอกจากนี้ยิ่งไปกว่านั้น

 แสดงการสรุป: ในที่สุดกล่าวโดยย่อด้วยเหตุดังกล่าวสุดท้ายนี้

 แสดงเหตุผล: เพราะว่าเพราะฉะนั้นดังนั้นอาจเป็นเพราะ

 ความขัดแย้ง: แต่อนึ่งอย่างไรก็ดีอย่างไรก็ตาม

 บอกเวลา/สถานที่: หลังจากนั้นต่อมาเหนือขึ้นไปดังที่กล่าวในข้างต้น

 เปรียบเทียบ: ราวกับในทานองเดียวกันเช่นเดียวกับไม่ต่างจาก

 ขยายความ: ตัวอย่างเช่นอาทิได้แก่

ขั้นตอนของการเขียนย่อหน้า

1) กาหนดเรื่องที่ต้องการเขียน- พิจารณาว่าย่อหน้าที่จะเขียนนั้นจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องใดในแง่ไหน

2) สร้างประโยคใจความสาคัญ- เนื้อหาครอบคลุมเรื่องทั้งหมดในย่อหน้านั้นหรือกล่าวถึงความคิดสาคัญที่สุดของย่อหน้านั้น

3) หาข้อสนับสนุนหรือขยายความประโยคใจความสาคัญ– เพื่อขยายความชัดเจน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น